Law of Computer

สาระน่ารู้เกี่ยวกับกฎหมายคอมพิวเตอร์

มาตรา 1 พ.ร.บ.นี้ เรียกว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 2 ให้มีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และมาตรา 3 ใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ ระบบคอมพิวเตอร์หมายความว่า อุปกรณ์ หรือ ชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือ สิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุกรณ์ หรือ ชุดอุปกรณ์ ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ

ข้อมูลคอมพิวเตอร์หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง หรือ ชุดคำสั่ง หรือ สิ่งอื่นใด ที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้รวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึงข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง วันเวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรือ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผู้ให้บริการหมายความว่า ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือ ให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่นและผ่านทาวระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือ ในนาม หรือ เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น รวมถึงผู้เก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น ส่วนผู้ใช้บริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้ บริการ ไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม

พนักงานเจ้าหน้าที่หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ ส่วนรัฐมนตรี หมาย ความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้ ขณะที่มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีรักษาการตรา พ.ร.บ.นี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้ โดยในส่วนของกฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้มีผลบังคับใช้ได้ทันทีนับตั้งแต่วันที่ประกาศ

ในส่วนของความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น

มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตราการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้น และนำไปเปิดเผยโดยมิชอบในการที่น่าจะเกิดความเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลนั้น มิได้มีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ หรือ เพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือ บางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือ รบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 11 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือ ปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่ง อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุขต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท ส่วนมาตรา 12 ถ้าการกระทำความผิดตามมาร 9 หรือ มาตรา 10 โดยวรรค 1 ถ้าก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นทั้งที หรือ ภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

มาตรา 12 วรรคที่ 2 ถ้าเป็นการกระทําที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือ การบริการสาธารณะ หรือ เป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี และปรับตั้งแต 6 หมื่นบาท ถึง 3 แสนบาท นอกจากนั้น ถ้าการกระทําความผิด ตามวรรคที่ 2 เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปี ถึง 20 ปี

มาตรา 13 ผู้ใดจำหน่าย หรือ เผยแพร่ ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือ มาตรา 11 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ 1) นำข้อมูลปลอมไม่ว่าทั้งหมด บางส่วน หรือ ข้อมูลเท็จ ที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือ ประชาชน 2) ข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน 3) ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือ ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา 4) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะลามกและข้อมูลนั้นประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึง 5) เผยแพร่ หรือ ส่งต่อ ข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นข้อมูล คอมพิวเตอร์ตามข้อ 1, 2, 3 หรือ 4 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุน หรือ ยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามาตรา 14

มาตรา 16 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฎเป็ยภาพของผู้อื่น และภาพนั้น เป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือ ดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อื่นใด ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือ ได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ แต่ถ้าการกระทำดังกล่าว เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด อย่างไรก็ตาม ความผิดข้างต้นเป็นความผิดอันยอมความได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามที่กล่าวมา ตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่า เป็นผู้เสียหาย

มาตรา 17 ผู้ใดกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ นอกราชอาณาจักรและ วรรค 1 ผู้กระทำความผิดนั้น เป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือ ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ วรรคที่ 2 ผู้กระทำความผิดนั้น เป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือ คนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องได้รับโทษในราชอาณาจักร

ในหมวดพนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา 18 ภายใต้บังคับมาตรา 19 เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า มีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใดเฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำผิดดังต่อไปนี้ วรรค 1 มีหนังสือสอบถาม หรือ เรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือ เอกสาร ข้อมูล หรือ หลักฐานอื่นๆ

วรรค 2 เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หรือ บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง วรรค 3 สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา 26 หรือ ที่อยู่ในความครอบครอง หรือ ควบคุมให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ วรรค 4 ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณืที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น ที่ยังไม่อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่

วรรค 5 สั่งให้บุคคลที่ครอบครอง ควบคุม หรือ อุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ส่งมอบข้อมูล คอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์ดังกล่าว ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ วรรค 6 ตรวจสอบ หรือ เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจร หรือ อุปกณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใดอันเป็นหลักฐาน หรือ ใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความปิด หรือ เพื่อสืบหาตัวผู้กระทำความผิด และสั่งให้บุคคลนั้นส่งสิ่งที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้

วรรค 7 ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือ สั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูล คอมพิวเตอร์ทำการถอดรหัสลับ หรือ ให้ความร่วมมือกับพนักงาน และวรรค 8 ยึด หรือ อายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.นี้

มาตรา 19 การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 18 วรรค 4,5,6,7 และ 8 จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินการตามที่ร้องขอ โดยในคำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่า บุคคลใดทำ หรือ กำลังจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้และผู้กระทำความผิดเท่าที่จะระบุได้ประกอบคำร้องด้วย

ส่วนในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งศาลให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา 18 วรรค 4,5,6,7 และ 8 มอบให้เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองดังกล่าว ในทันทีที่สามารถทำได้

นอกจากนี้ ยังให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา 18 วรรค 4,5,6,7 และ 8 ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายใน 48 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาลงมือดำเนินการเพื่อเป็นหลักฐาน ส่วนการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์มาตรา 18 วรรค 4 ให้ทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดและต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองจนเกินความจำเป็น

ขณะที่การยึด หรือ อายัด ตามมาตรา 18 วรรค 8 นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึด หรือ อายัดมอบให้เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์ไว้เป็นหลักฐานแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึด หรือ อายัดไว้เกิน 30 วัน มิได้ ในกรณีจำเป็นต้องยึด หรือ อายัดไว่นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลา แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียว หรือ หลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกิน 60 วัน แต่เมื่อหมดความจำเป็น หรือ ครบกำหนดแล้วจะต้องส่งคืนโดยพลัน สำหรับหนังสือแสดงการยึด หรือ อายัด ตามวรรค 5 ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 20 กรณีที่การกระทําความผิดเป็นการทําให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กําหนดไว้ในภาคสองลักษณะ 1 หรือ ลักษณะ 1/1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือ ที่มี ลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชนพนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคําร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลขอให้มีคําสั่งระงับการทําให้แพร่หลาย ซึ่งข้ อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้

ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้ระงับการทําให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรค 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทําการระงับการทําให้แพร่หลายนั้นเอง หรือ สั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทําให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

มาตรา 21 ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่าย หรือ เผยแพร่ หรือ สั่งให้เจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองระงับการใช้ ทำลาย หรือ แก้ไขได้ หรือ จะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ครอบครอง หรือ เผยแพร่ก็ได้

ทั้งนี้ ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ หมายถึง ชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือ ชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มเติม ขัอข้อง หรือ ปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือ โดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ยกเว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกัน หรือ แก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้นตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น