Art

เทคนิคการวาดภาพระบายสี

 

 

เทคนิคการระบายสีน้ำ


 สีน้ำ (Water Color) มีกรรมวิธีในการสร้างสรรค์ผลงานหลายวิธี แต่ในที่นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะเทคนิคที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนกันในโรงเรียนเท่านั้น ดังนี้
  1. การระบายแบบเปียกบนแห้ง(Wet into Dry) เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำในสภาพที่สีผสมน้ำให้เหลวเปียกชุ่มนำไประบายลงในกระดาษที่แห้งคือไม่ต้องระบายน้ำให้กระดาษเปียกเสียก่อน หากระบายต่อเนื่องกันจะทำให้เกิดสภาพสีเรียบ เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการระบายรูปทรงเหลี่ยมทั้งหลาย หรือวัตถุสิ่งของที่มีลักษณะพื้นผิวเรียบ เช่น พื้น หรือผนัง อาคารสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น 
  2. การระบายแบบแห้งบนแห้ง(Dry on Dry) เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำในสภาพสีที่ข้นหนืดผสมน้ำน้อย ลงบนกระดาษที่แห้งไม่เปียกน้ำ เทคนิควิธีการนี้เหมาะสำหรับการระบายสีที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงลักษณะผิวของวัตถุที่หยาบ ขรุขระ หรือแข็งกระด้าง เช่น ผิวของเปลือกไม้ ผิวของดิน หิน ผิงผนังต่างๆ หรือนำไปใช้ในการเก็บรายละเอียกของภาพในขั้นตอนสุดท้าย และยังแสดงถึงความรวดเร็วชำนาญในการใช้แปรงพู่กันของผู้วาดอีกด้วย 
3. การระบายแบบเปียกบนเปียก (Wet into Wet) เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำที่เหลวเปียกชุ่มลงบนกระดาษที่ลงน้ำให้เปียกชุ่มเตรียมไว้ สภาพสีที่ได้จะไหลซึมรุกรานเข้าหากัน ให้ความรู้สึกว่าสีเปียกชุ่มน้ำอยู่ตลอดเวลา เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการระบายภาพของท้องฟ้า ผืนน้ำ ภูเขาและแนวต้นไม้หรือป่าในระยะไกล 
ผลงาน "กล้วยไม้" ของ พูลศักดิ์ ตุละวิภาค   
 4. การระบายแบบใช้เทคนิคต่างๆ (Texture Surface) เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำที่มีการเตรียมการพื้นผิวของกระดาษด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ก่อนการระบายสี และหลังการะบายสี เช่น การทากาว การหยดเทียนไข เพื่อสร้างร่องรอยบนกระดาษก่อนระบายสีน้ำทับลงไป หรือการขูด ขีด ด้วยของปลายแหลมหรือมีคม การโรยเกลือลงบนสีในขณะที่สียังไม่แห้ง การนำแอลกอฮอล์มาระบายลงบนสีที่ยังไม่แห้ง เป็นต้น 

เทคนิคการระบายสีโปสเตอร์ (Poster Color)

   สีโปสเตอร์(Poster Color) เป็นสีน้ำชนิดหนึ่งเนื่องจากมีน้ำเป็นส่วนผสม นิยมบรรจุขวด มีเนื้อสีข้นค่อนข้างหยาบ และมีคุณสมบัติทึบแสง เพราะเติมแป้งหรือเนื้อสีขาวลงไป เรียกว่า "สีแป้ง"

           การเขียนภาพด้วยสีโปสเตอร์เป็นงานจิตกรรมที่เป็นกระบวนการสืบเนื่องจากการวาดภาพแรเงา เช่นเดียวกับการเขียนด้วยสีน้ำ คือเปลี่ยนจากการใช้ดินสอระบายน้ำหนักลงบนรูปร่าง รูปทรงที่วาด มาเป็นการใช้สีโปสเตอร์แทน

            สีโปสเตอร์เป็นสีที่มีลักษณะขุ่นทึบ เนื้อสีมีลักษณะคล้ายแป้ง ซึ่งแตกต่างจากลักษณะของสีน้ำที่โปร่งใสไม่มีเนื้อสี สีโปสเตอร์เหมือนกันกับสีน้ำตรงที่เมื่อจะใช้ในการระบายภาพวาดจะต้องผสมน้ำก่อน

           การเขียนสีโปสเตอร์ สามารถระบายด้วยพู่กันซ้ำๆที่เดิมได้ ซึ่งแตกต่างจากสีน้ำ ถ้าระบายถูไปมาด้วยพู่กันซ้ำหลายๆครั้งจะทำให้สีช้ำ สกปรก กระดาษเป็นขุยดูไม่ใสสวย สำหรับสีโปสเตอร์ นอกจากการใช้พู่กันเกลี่ยสีซ้ำที่ได้แล้ว ยังนิยมผสมกับสีขาวเมื่อต้องการให้สีอ่อนลงมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับปริมาณสีขาวที่ผสมลงไป และเมื่อต้องการให้ความจัดของสีหม่นลงหรือเมื่อต้องการให้สีนั้นมืดเข้มขึ้น ก็ให้ผสมด้วยสีดำตามปริมาณมากน้อยตามที่ต้องการ

  การฝึกเขียนสีโปสเตอร์ในเบื้องต้นก็เช่นเดียวกับการฝึกเขียนสีน้ำ มักนิยมเขียนจากหุ่นนิ่งเพื่อให้เกิดชำนาญมีทักษะรู้จักสังเกตเห็นลักษณะของสีและค้นพบเทคนิคการระบายสีด้วยตนเอง จากนั้นจึงใช้เทคนิคการเขียนสีโปสเตอร์มาเขียนภาพสื่อความคิด จินตนาการเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆได้ ตามความต้องการ

            การเดรียมวัสดุอุปกรณ์ และขั้นตอนการฝึกปฏิบัติการเขียนภาพด้วยสีโปสเตอร์ จะกระทำเช่นเดียวกับการเขียนภาพด้วยสีน้ำ

             การระบายสีโปสเตอร์ขั้นพื้นฐาน มีวิธีการระบายให้สีผสมผสานกลมกลืนกัน 2 วิธี ดังนี้
1) การระบายจากสีแก่ไปหาสีอ่อน เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงเงาเข้มของภาพก่อนแล้วค่อยลดน้ำหนักให้อ่อนจางลงด้วยการผสมสีขาวหรือสีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักอ่อนลงตามลำดับ มาผสมเพิ่มเข้าไปทีละน้อยในลักษณะของการไล่น้ำหนักสี เพื่อให้ภาพสว่างกลมกลืนกัน 
  
  2) การรระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงส่วนสว่างหรือส่วนที่ได้รับแสงก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักให้เข้มขึ้นทีละน้อยด้วยการผสมสีดำหรือสีตรงกันข้ามหรื่อสีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักเข้มขึ้นตามลำัดับในลักษณะของการไล่น้ำหนักสี เพื่อให้เกิดการประสานกลมกลืนกัน 


เทคนิคการระบายสีชอล์กเทียน

 สีชอล์กเทียนหรือสีชอล์กน้ำมัน (Oil Pastel) เป็นสีที่นิยมใช้กันมากในหมู่ของเด็กนักเรียนระดับอนุบาลหรือระดับประถมศึกษา เหมาะสำหรับการเขียนภาพระบายสีที่ไม่ต้องการความละเอียดเหมือนจริงมากนัก เช่น การเขียนภาพทิวทัศน์ ภาพหุ่นนิ่ง 
       
          การะบายสีชอล์กเทียน นิยมระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ซึ่งเป็นการระบายสีที่ให้ความสำคัญของภาพจากส่วนที่ได้รับแสงหรือส่วนที่มีค่าน้ำหนักแสงเงาอ่อนๆ ก่อนส่วนที่มีน้ำหนักเข้มโดยค่อยๆเพิ่มน้ำหนักให้เข้มขึ้นโดยใช้สีเข้มระบายทับตามลำดับ 
       
         วัสดุอุปกรณ์    
ผลงานของ : สดใส แสงหิัรัญ    1. สีชอล์กเทียน มีหลายยี่ห้อหาเลือกซื้อได้ตามความต้องการ     
ร.ร.ละทายวิทยา จ. ศรีสะเกษ    2. กระดาษวาดเขียน ควรใช้กระดาษเนื้อค่อนข้างหนา ผิวเรียบด้าน     
    นักเีรียนนิยมใช้กระดาษ 100 ปอนด์     
    3. ดินสอ สำหรับการร่างภาพ ควรใช้ดินสอไส้เกรด HB ก็พอ และดินสอ EE ซึ่งนักเรียนระดับอนุบาลหรือประถมนิยมนำมาใช้ใน    
    การตัดเส้นเก็บรายละเอียด ในขั้นตอนสุดท้าย    
    4. กระดาษชำระ หรือผ้าสะอาด สำหรับปัด เช็ดฝุ่นสีหรือรอยเปื้อน     
    5. โต๊ะ หรือแผ่นกระดานรองเขียน ให้ความสะดวกในการวาดภาพนอกสถานที่     


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น